ชื่อเดิม โรงเรียนโตนดหลวงวิทยา
ที่ตั้ง เลขที่ 105 หมู่ที่ 9 ตำบลบางเก่า อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี 76120
โรงเรียนโตนดหลวงวิทยาได้เปิดสอนเป็นการภายในเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2518 โดยท่าน
พระครูภาวนาวัชโรภาสเจ้าอาวาสวัดโตนดหลวงเป็นผู้ก่อตั้งโดยมีการประชุมกรรมการมีเรือตรีดิเรก ธารภพ นายอำเภอชะอำเป็นประธานนายจเร มาลาวงศ์ ศึกษาธิการอำเภอชะอำ เป็นรองประธานคนที่ 1
นายสุพจน์ โต๊ะเฮง หัวหน้าการประถมศึกษาอำเภอชะอำ เป็นรองประธานคนที่ 2 ได้เสนอมติที่ประชุมต่อสภาตำบลบางเก่าในการขอจัดตั้งโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำตำบลกับนายบัว นาเมือง (สมาชิกสภาจังหวัดเพชรบุรี)นายชวาล เสมาพิทักษ์ นายโกศล จุ้ยมี นายซ้อน กลั่นยิ่งและนายสมศักดิ์ กลั่นยิ่ง เป็นผู้ประสานงานกับนายปิยะ อังกินันท์(สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเพชรบุรี) เพื่อเข้าพบนายนิพนธ์ ศศิธร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รัฐมนตรีเห็นชอบเพราะตรงกับนโยบายของรัฐบาล แต่มีเงื่อนไขว่าต้องมีที่ดินไม่น้อยกว่า 35 ไร่ และมีนักเรียนไม่ต่ำกว่า 30 คน โดยจัดสร้างอาคารเรียนชั่วคราวตามแบบของกรมสามัญศึกษา จำนวน 6 ห้อง พระครูภาวนาวัชโรภาสและคณะกรรมการเป็นผู้ดำเนินการได้ที่ดินประมาณ 37 ไร่ อาคารเรียนชั่วคราว เป็นเงิน 108,000 บาท ไม่รวมค่าที่ดินและปรับพื้นที่
โรงเรียนได้รับอนุมัติให้เปิดเป็นทางการ เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2518 มีนักเรียน 30 คน ชาย 24 คน หญิง 6 คน โดยนายอำเภอชะอำได้แต่งตั้ง นายสุนทร ชูช่อแก้ว ครูตรีโรงเรียนชะอำคุณหญิงเนื่องบุรี ทำหน้าที่รักษาการแทนครูใหญ่และให้ครูโรงเรียน วัดโตนดหลวง สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดร่วมทำการสอน ณ ห้องสมุดโรงเรียนวัดโตนดหลวง
วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2518 นางสาวพิมพ์นภา บ่องทรัพย์ วุฒิการศึกษา กศ.บ. วิชาเอกภาษาไทย วิชาโท ประวัติศาสตร์ มาช่วยสอน เมื่อ 1 กรกฎาคม 2518 เพื่อรอการบรรจุ (บรรจุ 18 กันยายน 2518 )
ต่อมา นายสัมฤทธิ์ อินทรไพโรจน์ ได้รับการแต่งตั้งให้มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่ เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2518
วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2519 พระครูภาวนา วัชโรภาส ได้เริ่มปรับปรุงที่ดินและสร้างอาคารเรียนชั่วคราว โดยนายสุเทพ พูลเกิด หัวหน้ารถแทรกเตอร์ทางหลวงท้องถิ่น รวมค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 19,000 บาท และได้ย้ายมาเรียนในอาคารเรียนชั่วคราว ณ สถานที่แห่งใหม่ ในวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2519 มีนักเรียน ม.1 และ ม.2 รวม 71 คน
ในปีงบประมาณ 2520 ได้รับงบประมาณ เป็นค่าก่อสร้างบ้านพักครู 2 หลัง บ้านพัก ภารโรง 1 หลัง และส้วม 1 หลัง
ในปีการศึกษา 2527 ว่าที่ ร.ต. ยุทธ นุชสวัสดิ์ ได้มารับหน้าที่อาจารย์ใหญ่แทน
นายสุบิน โพธิ์จันทร์ เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2527 มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ ดังนี้
ได้รับงบประมาณก่อสร้างบ้านพักครู 1 หลัง ราคา 220,000 บาท
เปลี่ยนชื่อจากโรงเรียนโตนดหลวง เป็นโรงเรียนโตนดหลวงวิทยา ตามประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 14 พฤศจิกายน 2527
เข้าโครงการโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก รุ่นที่ 3
ปีงบประมาณ 2529 ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารโรงฝึกงาน 1 หลังราคา 780,000 บาท
ปีงบประมาณ 2530 ได้รับงบประมาณสร้างบ้านพักครู 1 หลัง ราคา 210,000 บาท
ปีงบประมาณ 2531 ได้รับงบประมาณก่อสร้างส้วม 1 หลัง ราคา 90,000 บาท
ปีงบประมาณ 2532 กรมสามัญศึกษาได้อนุมัติโครงการจัดตั้งศูนย์พัฒนานักเรียนและบุคลากรกรมสามัญศึกษา ณ ที่ดินของพระครูภาวนาวัชโรภาส มอบให้ประมาณ 80 ไร่ ได้รับงบประมาณทำรั้วและปรับปรุงพื้นที่ 528,000 บาท ได้รับงบประมาณสร้างอาคารเอนกประสงค์ จำนวน 1 หลังและได้รับงบประมาณก่อสร้าง 9,394,800 บาท
ปีงบประมาณ 2535 ได้รับงบประมาณลาดยางถนนภายในศูนย์และปรับปรุงสนาม ณ ศูนย์พัฒนานักเรียนและบุคลากรกรมสามัญศึกษา เป็นเงิน 3,000,000 บาท
ปีงบประมาณ 2537 ได้รับงบประมาณเป็นค่าก่อสร้างอาคาร 216 ล. ปรับปรุง 29 ราคา 7,120,000 บาท
ในปีการศึกษา 2537 นายสุธน เรืองเดช ได้มาดำรงตำแหน่งหน้าที่อาจารย์ใหญ่ แทนว่าที่
ร.ต. ยุทธ นุชสวัสดิ์ เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2537
ปีการศึกษา 2539 นายอำนวย พลชัย ได้มาดำรงตำแหน่งหน้าที่อาจารย์ใหญ่
แทนนายสุธน เรืองเดช เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539
ในปีการศึกษา 2543 นายสนธิชัย ผ่องฤกษ์ ได้มาดำรงตำแหน่งหน้าที่อาจารย์ใหญ่ แทน
นายอำนวย พลชัย เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2543
ในปีการศึกษา 2545 โรงเรียนได้ผ่านเกณฑ์การประเมินการขอปรับปรุงกำหนดตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษามีนายสนธิชัย ผ่องฤกษ์ ดำรงตำแหน่งเป็น ผู้อำนวยการโรงเรียนโตนดหลวงวิทยาและ นายกุศล น่วมมะโน ดำรงตำแหน่งเป็นรองผู้อำนวยการโรงเรียนโตนดหลวงวิทยา
ในปีการศึกษา 2547 โรงเรียนเข้ารับการประเมินภายนอกจาก สมศ.
ในปีการศึกษา 2548 คณะครูในโรงเรียนผ่านการประเมินวิทยฐานะ ชำนาญการ ทั้งสิ้น 16 คน
ในปีการศึกษา 2549 นางวัลลภา น่วมมะโน ครูผู้สอนคณิตศาสตร์ ผ่านการประเมินเลื่อนเป็นวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ 1 คน
ในปีการศึกษา 2549 โรงเรียนเข้ารับการประเมินภายนอกจาก สมศ.
ในปีการศึกษา 2550 นายสมชาย ครึกครื้น ได้มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน
แทนนายสนธิชัย ผ่องฤกษ์ที่เกษียณอายุราชการ โดยเดินทางมารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2550
ในปีการศึกษา 2551 นางสาวชุติมน ม่วงมงคล ครูผู้สอนคณิตศาสตร์ และนางอรัญญา มหาแก้ว ครูผู้สอนภาษาไทย ผ่านการประเมินเลื่อนเป็นวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ 2 คน
ในปีการศึกษา 2552 นายโกวิท กรีทวี ได้ย้ายมาดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนโตนดหลวงวิทยา แทนนายสมชาย ครึกครื้น โดยเดินทางมารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2552
ในปีการศึกษา 2552 นายเสน่ห์ บุญชู ครูผู้สอนงานช่าง ผ่านการประเมินเลื่อนเป็นวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ
ในปีการศึกษา 2553 นางสาวจุฑามาส พุ่มสวัสดิ์ ครูผู้สอนคอมพิวเตอร์ และนางประไพ ทองบ่อ ครูผู้สอนสังคมศึกษา ผ่านการประเมินเลื่อนเป็นวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ 2 คน
ในปีการศึกษา 2554 นายสุรชัย ภูขามคม ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและ เทคโนโลยี และนางสุรีย์ ขันตีเรือง ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ผ่านการประเมินเลื่อนเป็นวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ 2 คน
ในปีการศึกษา 2554 โรงเรียนเข้ารับการประเมินภายนอกจาก สมศ. (รอบที่ 3)
ในปีการศึกษา 2555 โรงเรียนเข้ารับการประเมินสถานศึกษาพอเพียงและโครงการธรรมจารี
ในปีการศึกษา 2556 โรงเรียนได้รับการคัดเลือกเป็นโรงเรียนนำร่องทักษะงานทักษะชีวิต
ในปีการศึกษา 2556 นายกุศล น่วมมะโน ได้ย้ายมาดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนโตนดหลวงวิทยา แทนนายโกวิท กรีทวี โดยเดินทางมารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2556
ในปีการศึกษา 2556 นางปุณยา จารุแพทย์ ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
ผ่านการประเมินเลื่อนเป็นวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ
ในปีการศึกษา 2556 โรงเรียนผ่านการประเมินสถานศึกษาพอเพียง
ปีงบประมาณ2556 ได้รับงบประมาณเป็นค่าก่อสร้างห้องน้ำชาย 1 หลัง ราคา 442,000 บาท
ในปีการศึกษา 2557 นายคำนึง เพิ่มเสม ครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศเกษียณอายุราชการ
ในปีการศึกษา 2558 ครบรอบ 40 ปีโรงเรียนโตนดหลวงวิทยา โรงเรียนเข้ารับการประเมินโครงการธรรมจารี นางวัลลภา น่วมมะโน ครูกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เกษียณอายุราชการ
ในปีการศึกษา 2559 นางนันท์นภัส มะลิทอง ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
ผ่านการประเมินเลื่อนเป็นวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ
ในปีการศึกษา 2560 นายกุศล น่วมมะโน ผู้อำนวยการโรงเรียนเกษียณอายุราชการ
นายเสน่ห์ บุญชู ครู คศ.3 หัวหน้ากลุ่มงานบริหารทั่วไป รักษาราชการแทน
ในปีการศึกษา 2560 นางกชพร มั่งประเสริฐ ได้ย้ายมาดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการโรงเรียน
โตนดหลวงวิทยา
ในปีการศึกษา 2560 โรงเรียนได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณที่ได้ดำเนินงานด้านการส่งเสริม สนับสนุนกิจกรรมการอนุรักษ์ฟื้นฟูและรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จังหวัดเพชรบุรี ประจำปี 2560
จากจังหวัดเพชรบุรี และ สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเพชรบุรี
ในปีการศึกษา 2560 โรงเรียนได้รับการประเมินผลโครงการสถานศึกษาสีขาว จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 10 ให้อยู่ในระดับการประเมิน ระดับเงิน ซึ่งอยู่ในระดับคุณภาพดี
ในปีการศึกษา 2561 โรงเรียนได้รับประกาศนียบัตรการเข้าร่วมโครงการโรงเรียน ปลอดขยะ(Zero Waste School) ผ่านระดับดีเยี่ยม (เป็นตัวแทนแข่งขันในระดับภาค) จากกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมจากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ในปีการศึกษา 2561 โรงเรียนได้รับรางวัลชมเชย โรงเรียนปลอดขยะ จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 10
ในปีการศึกษา 2561 นางสาวอัญชลี บัวงาม ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ผ่านการประเมินเลื่อนเป็นวิทยฐานะชำนาญการ
ในปีการศึกษา 2562 นางสาวสุนันทา ศรีจันทร์ ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ผ่านการประเมินเลื่อนเป็นวิทยฐานะชำนาญการ
ในปีการศึกษา 2562 โรงเรียนได้รับโล่เกียรติคุณ การผ่านเข้ารอบที่ 1 โครงการโรงเรียนปลอดขยะ(Zero Waste School) ระดับประเทศ จากกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ในปีการศึกษา 2562 โรงเรียนได้รับโล่รางวัลโรงเรียนวิถีพุทธชั้นนำ รุ่นที่ 10 ประจำปี 2562 จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ปัจจุบันโรงเรียนโตนดหลวงวิทยา จัดการศึกษาทั้งระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย เป็นโรงเรียนแบบสหศึกษา มีอาคารเรียน 2 หลัง อาคารห้องสมุด 1 หลัง อาคาร โรงฝึกงาน
1 หลัง โรงอาหาร 1 หลัง ห้องน้ำห้องส้วมนักเรียน 4 หลัง มีสนามกีฬาเพียงพอแก่อัตภาพของนักเรียน
บุคลากรในโรงเรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 มีครูชำนาญการพิเศษ 6 คน ครูชำนาญการ 5 คน ครู 4 คน ครูผู้ช่วย 2 คน ครูอัตราจ้าง 4 คน ครูพี่เลี้ยงเด็กพิเศษ 1 คน ช่างไม้ 2 คน ลูกจ้างชั่วคราว 1 คน เจ้าหน้าที่ธุรการ 1 คน รวมบุคลากรทั้งหมด 26 คน นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู 4 คน และมีจำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 323 คน (ข้อมูล ณ 10 มิถุนายน 2562 )
บุคลากรในโรงเรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 มีครูชำนาญการพิเศษ 6 คน ครูชำนาญการ 6 คน ครู 4 คน ครูผู้ช่วย 2 คน ครูอัตราจ้าง 4 คน ครูพี่เลี้ยงเด็กพิเศษ 1 คน ช่างไม้ 2 คน ลูกจ้างชั่วคราว 1 คน เจ้าหน้าที่ธุรการ 1 คน รวมบุคลากรทั้งหมด 27 คน นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู 4 คน และมีจำนวนนักเรียนในภาคเรียนที่ 2 ทั้งสิ้น 313 คน (ข้อมูล ณ 10 พฤศจิกายน 2562 ) จำนวนนักเรียนสิ้นปีการศึกษาภาคเรียนที่ 2 ทั้งสิ้น 309 คน (ข้อมูล ณ 31 มีนาคม 2563 )
บุคลากรในโรงเรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 มีครูชำนาญการพิเศษ 6 คน ครูชำนาญการ 6 คน ครู 4 คน ครูผู้ช่วย 3 คน ครูอัตราจ้าง 3 คน ครูพี่เลี้ยงเด็กพิเศษ 1 คน ลูกจ้างชั่วคราว 1 คน เจ้าหน้าที่ธุรการ 1 คน รวมบุคลากรทั้งหมด 25 คน นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู 3 คน และมีจำนวนนักเรียนในภาคเรียนที่ 1 ทั้งสิ้น 296 คน (ข้อมูล ณ 18 กรกฎาคม 2563 )
บุคลากรในโรงเรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 มีครูชำนาญการพิเศษ 4 คน ครูชำนาญการ 5 คน ครู 5 คน ครูผู้ช่วย 1 คน ครูอัตราจ้าง 3 คน ครูพี่เลี้ยงเด็กพิเศษ 1 คน เจ้าหน้าที่ธุรการ 1 คน ลูกจ้างประจำ 2 คน ลูกจ้างชั่วคราว 1 คน รวมบุคลากรทั้งหมด 23 คน นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู 2 คน และมีจำนวนนักเรียนในภาคเรียนที่ 1 ทั้งสิ้น 257 คน (ข้อมูล ณ 1 ตุลาคม 2564 )
บุคลากรในโรงเรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 มีครูชำนาญการพิเศษ 4 คน ครูชำนาญการ 6 คน ครู 4 คน ครูผู้ช่วย 1 คน ครูอัตราจ้าง 3 คน ครูพี่เลี้ยงเด็กพิเศษ 1 คน เจ้าหน้าที่ธุรการ 1 คน ลูกจ้างประจำ 2 คน ลูกจ้างชั่วคราว 1 คน รวมบุคลากรทั้งหมด 23 คน นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู 9 คน และมีจำนวนนักเรียนในภาคเรียนที่ 1 ทั้งสิ้น 266 คน (ข้อมูล ณ 28 มิถุนายน 2565 )
โรงเรียนโตนดหลวงวิทยา